In trend library in the world

ความหมายต่างๆ ของคำว่า In trend library

Trends :

                 แนวโน้ม, แนวความคิด, ทิศทาง

Intrend :

                 หมายความว่า อยู่ในสมัยนิยม คำนี้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า in แปลว่า ใน กับ trend แปลว่า แนวโน้ม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ที่คนส่วนมากนิยม มักเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการที่เกิดขึ้นแก่การแต่งกาย แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง

In trend library :

                  คือ แนวโน้มด้านเทคโนโลยีและบริการต่างๆ ที่ทันสมัยเป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ในอนาคตนี้หรือเกิดขึ้นแล้วแต่กำลังได้รับการการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในห้องสมุดต่อไป


ตัวอย่าง ห้องสมุด สุด ทันสมัยระดับโลก

ปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสูง ห้องสมุดจึงต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยี และมีการเปลี่ยนแปลงบริการต่างๆ ภายในห้องสมุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และดึงดูดผู้ใช้บริการเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น ขอนำเสนอห้องสมุดที่ทันสมัยระดับโลกให้กับทุกคนรู้จักกันค่ะ

“มารู้จักห้องสมุดสุดล้ำระดับโลกกัน”

 

Trinity College Library: ในเมืองดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์

2ที่มาภาพ: https://world.kapook.com/pin/56fa5d804d265af8248b4575

หนอนหนังสือไม่ควรพลาด!!

           ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดของไอร์แลนด์ มีหนังสือมากกว่า 6 ล้านเล่ม ภายในห้องสมุดมีความสวยงามอลังการมาก หนังสือถูกตั้งเรียงรายสวยงามเป็นระเบียบมากๆ  ห้องสมุดแห่งนี้เป็นของ Trinity College และ University of Dublin ประเทศไอร์แลนด์ ห้องสมุดไม้เก่าแก่ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1592 สร้างขึ้นในสมัย สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ได้รับขนานนามว่า เป็นห้องสมุดห้องเดี่ยวขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

3ที่มาภาพ: https://www.pinterest.se/pin/571253533959895215

ดีไซน์ที่สวยงามของ Trinity College Library นั่นก็คือ โครงสร้างของห้องสมุด ถูกสร้างมาจากไม้โอ๊ค ซึ่งเป็นเนื้อไม้ที่มีความสวยหรูหรามาก เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดคนรักการอ่านให้เขามาเยี่ยมชมมากๆ เลย

11ที่มาภาพ: https://world.kapook.com/pin/56fa5d804d265af8248b4575

หนังสือภายในห้องสมุดนี้ ถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนที่ให้ได้เลือกอ่านกัน จะมีบางส่วนที่เป็นหนังสือเก่าแก่มากๆ ก็จะถูกกั้นไว้ไม่ให้นำไปอ่าน เพื่อดูแลรักษาหนังสือให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด  นอกจากที่นี่จะเป็นห้องสมุดที่ให้ผู้คนสามารถเข้ามาอ่านได้แล้ว ยังเป็นสถานที่สำหรับนักศึกษาของสถาบัน Trinity College ได้มาค้นคว้า วิจัยนอกห้องเรียนอีกด้วย


Bibliotheca Alexandrina : ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์

6ที่มาภาพ: https://www.cascadianabroad.com/2016/11/14/bibliotheca-alexandrina/

              ห้องสมุดในยุคแรกๆ ของโลก ได้แก่ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้ นอกจากนี้ยังได้จัดทำรายการหนังสือ ซึ่งนับว่าเป็นการจัดทำบรรณานุกรมครั้งแรก เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อน ห้องสมุดอเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญมาก

7ที่มาภาพ: https://www.glassdoor.co.uk/Photos/Bibliotheca-Alexandrina-Office-Photos-IMG1241190.htm

ภายในมีที่นั่งอ่านหนังสือเกือบ 2 หมื่นที่นั่ง โดยแยกเป็นส่วนๆ มีไกด์ภาษาอังกฤษของห้องสมุดนำชมทุกชั่วโมง ใช้เวลาอธิบายประมาณ 10-15 นาที มีห้องสมุดของเด็กเล็กและเด็กโต แยกส่วนกัน นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดง มีการแบ่งเนื้อที่ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนห้องสมุดหลังใหม่ ส่วนที่จัดสัมมนา และส่วนที่เป็นท้องฟ้าจำลอง( Planetarium)ทั้ง 3 ส่วนเชื่อมต่อถึงกันทำให้เกิดเป็นลานเอนกประสงค์จากส่วนที่เป็นพื้นที่โล่งที่เป็นลานกว้างๆ

4ที่มาภาพ: https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=exdecor&month=01-09-2008&group=20&gblog=2

ทางเข้าชั้น 1 มีเครื่องตรวจสิ่งของที่นำเข้ามาในห้องสมุด เคาน์เตอร์ฝากของ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ผ่านเข้ามาชั้นในมีเครื่องกันขโมย เคาน์เตอร์บริการยืมคืน ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งจะเป็นระเบียง ที่ให้ชื่อเป็นเกียรติแก่ Callimachus ผู้เป็นบิดาทางบรรณารักษศาสตร์ ผู้ริเริ่มการจัดหมวดหมู่โดยหัวเรื่องและผู้แต่ง ระเบียงแห่งนี้สามารถมองเห็นโถงที่นั่งอ่านได้โดยรอบทุกชั้น เพราะสร้างเป็นชั้นลดหลั่นกันไป มีเสารองรับหลังคาที่ลาดเทลดหลั่นกันไป จำนวน 7 ชั้น เป็นที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป และหนังสืออ้างอิง หลังคาทำด้วยกระจกโปร่งแสง ตามชั้นหนังสือ และเสาเพดานจะติดหลอดไฟให้แสงสว่างในเวลากลางคืน

สถาปัตยกรรมมีหลังคาที่เปิดได้ เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้าห้องสมุดและต้านทานลมได้ โดยมีเสาเล็กๆ ที่สง่างามค้ำจุนอยู่ดูเสมือนเป็น “โบสถ์แห่งหนังสือ” อาคารอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล 18 เมตร เป็นอาคารที่ได้รับรางวัลด้านวิศวกรรมนอกเหนือจากรางวัลทางด้านสถาปัตยกรรม วัสดุที่ใช้ทันสมัย และแข็งแรงก่อให้เกิดความประทับใจ เฟอร์นิเจอร์ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมสวยงาม

จำนวนหนังสือมากถึง 8 ล้านเล่ม วารสาร 4,000 ฉบับ และหนังสือหายาก 50,000 เล่ม ต้นฉบับตัวเขียน แผนที่และโสตทัศนวัสดุ 50,000 รายการ พื้นที่ห้องอ่านหนังสือ 70,000 ตารางเมตร

อาคารที่เป็นท้องฟ้าจำลอง อนุรักษ์อารยธรรมโบราณ มีจอภาพ 9 จอ พร้อมเครื่องฉาย 9 เครื่อง ในแต่ละภาพสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ เป็นการนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ของอียิปต์ 5,000 ปีที่ผ่านมา


Bishan Public Library : ประเทศสิงคโปร์

9

             ห้องสมุดสาธารณะบิซาน มีเนื้อที่ 4,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ใจกลางของเขตชุมชนบิซาน ประเทศสิงคโปร์ เคยได้รับรางวัลห้องสมุดบริการสาธารณะยอดเยี่ยม ห้องสมุดนี้มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาคารห้องสมุดเป็นเอกลักษณ์มากๆ แถมเป็นอาคารเอกเทศ ออกแบบอาคารมาคล้ายบ้านต้นไม้หลังใหญ่ และมีห้องเป็นช่อง ที่เต็มไปด้วยสีสัน ภายในอาคารประกอบด้วย ส่วนยืม-คืนหนังสือ พื้นที่ว่างสำหรับอ่านหนังสือที่เงียบสงบ และพื้นที่ไว้จัดสัมมนา หรือเวิร์กช็อปได้ ด้านนอกอาคารประกอบด้วยกระจกใสส่วนใหญ่ ทำให้คนด้านนอกห้องสมุด สามารถมองเห็นพฤติกรรมการอ่านหนังสือจากคนข้างในห้องสมุดได้

8ที่มาภาพ: https://travel.mthai.com/world-travel/50874.html

อาคารห้องสมุดประชาชน Bishan มี 5 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้นใต้ดิน – ห้องสมุดสำหรับเด็กและเยาวชน – หนังสือเด็ก
ชั้น 1 เป็นโซนวารสาร นิตยสาร และเคาน์เตอร์บริการยืมคืน
ชั้น 2 มุมหนังสือนวนิยาย บันเทิงคดี
ชั้น 3 มุมหนังสือสารคดี และหนังสือทั่วไป และหนังสือที่เกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ชั้น 4 มุมหนังสือเยาวชน และโซนมัลติมีเดีย

จุดเด่นของห้องสมุดแห่งนี้ คือ
– มุมอ่านหนังสือหรือช่องทำงานส่วนตัว (ช่องที่ยื่นออกมาจากตัวอาคารมีลักษณะเป็นช่องๆ กระจกสี) ซึ่งที่นี่เรียกว่า pods

– พื้นที่โซนเด็กที่แยกออกจากโซนอื่นๆ ทำให้เด็กๆ สามารถเล่นและเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
– การให้บริการยืมคืนหนังสือด้วยตัวเองผ่านตู้ Kiosk หน้าห้องสมุด (บริการ 24 ชั่วโมงจริงๆ)

– บริการบรรณารักษ์ตอบคำถาม แม้ว่าเคาน์เตอร์บรรณารักษ์จะอยู่ที่ชั้น 1 แต่ในชั้นอื่นๆ ก็มีบริการถามบรรณารักษ์เช่นกัน โดยสามารถโทรภายในลงมาถามก็ได้ หรือจะถามผ่านระบบ FAQ ก็ได้

– ผู้พิการสามารถใช้ห้องสมุดได้ทุกชั้น ด้วยลิฟท์ และทางลาด

10ที่มาภาพ: http://www.libraryhub.in.th/2012/07/11/libraryhub-tour-bishan-public-library/


แหล่งที่มาข้อมูล

7 of the world’s most beautiful libraries. (2560, 12 กรกฎาคม). (ภาพปกบนสุด). เข้าถึงได้จาก: https://edition.cnn.com/travel/article/coolest-libraries-world/index.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 14 มิถุนายน 2561).

ความหมายของคำ. (2561). เข้าถึงได้จาก: https://dict.longdo.com/search/Intrend. (วันที่ค้นข้อมูล: 18 มิถุนายน 2561).

พาสำรวจห้องสมุดที่สวยติดอันดับโลก Trinity College Library. (2561, 20 กุมภาพันธ์). เข้าถึงได้จาก: http://thaiactivity.com/trinity-college-library/. (วันที่ค้นข้อมูล: 18 มิถุนายน 2561).

บรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดในสิงคโปร์ : BISHAN PUBLIC LIBRARY. (2555, 12 กรกฎาคม). เข้าถึงได้จาก: http://www.libraryhub.in.th/2012/07/11/libraryhub-tour-bishan-public-library/. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กรกฎาคม 2561).

ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย (Bibliotheca Alexandrina). (2551, 23 ตุลาคม). เข้าถึงได้จาก: http://www.thailibrary.in.th/2008/10/23/bibliotheca-alexandrina/nggallery/page/1. (วันที่ค้นข้อมูล:  2 กรกฎาคม 2561).


ผู้เขียน: นางสาวภาวินี จีนาวุธ 59020863 (ภาคปกติ)

Leave a comment

Blog at WordPress.com.

Up ↑

Design a site like this with WordPress.com
Get started